แอมโมเนีย เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้
แอมโมเนีย
เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้
แอมโมเนีย คือ ค่าคุณภาพที่บ่งบอกของเสียสะสมภายในบ่อ หากมีความเข้มข้นสูงจะเป็นพิษต่อตัวกุ้ง เป็นสาเหตุที่พบมากในบ่อเลี้ยงกุ้ง
ส่งผลต่อความเครียด กดภูมิคุ้มกันกุ้ง และเพิ่มความไวต่อเชื้อโรค
ค่าแอมโมเนียอิสระที่เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงกุ้งขาว = <0.1มิลลิกรัม/ลิตร
(สถาบันวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง กรมประมง, 2556)
สาเหตุการเกิด
- จากอาหารสัตว์ เนื่องจากเป็นโปรตีนที่มีองค์ประกอบของไนโตรเจน
- จากการขับถ่ายของเสียของกุ้ง
- จากการที่จุลินทรีย์ย่อยสลายสารอินทรีย์
- จากซากแพลงก์ตอนที่ตาย
ปัจจัยที่มีผล
- ออกซิเจนละลาย : จะทำให้ความเป็นพิษของแอมโมเนียเพิ่มขึ้น
- pH : หากค่า pH ต่ำลง จะทำให้ความเป็นพิษของแอมโมเนียสูงขึ้น
- การเคลื่อนไหว : สัตว์น้ำที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา จะมีระดับแอมโมเนียในร่างกายสูงกว่าสัตว์น้ำที่ไม่เคลื่อนไหว หรือเคลื่อนไหวน้อย
- ภาวะเครียด : อาจเกิดจากการที่มีจำนวนสัตว์น้ำหนาแน่นเกินไป ทำให้สัตว์น้ำเกิดภาวะเครียด ส่งผลให้การสร้างแอมโมเนียเพิ่มสูงขึ้น
การลดปริมาณในบ่อเลี้ยง
- การให้อาหาร : ควรให้ปริมาณที่เหมาะสมลดการสะสมของตะกอนอินทรีย์
- การให้อากาศ : เพื่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารอินทรีย์เป็นไปอย่างสมบูรณ์
- การเปลี่ยนถ่ายน้ำ : เพื่อลดสารอินทรีย์และความเข้มข้นของแอมโมเนีย
- การใช้จุลินทรีย์ : ช่วยบำบัดและลดการสะสมของสารอินทรีย์
ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดปัญหาแอมโมเนีย
- Bio Aqua L : Yucca สารสกัดจากธรรมชาติ ใช้งานง่าย ลดปริมาณแอมโมเนียและไนไตรท์
- Bio BS : จุลินทรีย์ B.Subtilis ที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับการหมัก ย่อยของเสียภายในบ่อ
- Eco Marine : จุลินทรีย์เม็ด กลุ่ม Basillus spp. 5 ชนิด 7สายพันธุ์ ย่อยสลายสารอินทรีย์